The Responsibility Process — เรื่องของคนอื่นล่ะเก่งนัก!

Srikate
3 min readDec 11, 2020

--

เป็นผู้นำที่ดี ที่ปรึษาที่ดี ที่เอาชนะตัวเองมาก่อน

The Responsibility Process — Responsibility.com

เคยไหม? ให้คำปรึษาคนอื่นในเรื่องหนึ่งได้แต่พอตัวเจอกับตัว กลับไปไม่เป็น มันช่างน่าหงุดหงิดงุ่นง่านเหลือเกิน

เคยไหม? เวลาเจอเหตุการณ์บางอย่างที่มันน่าโมโห ในสมองนั้นปรี๊ดแตกจนแทบระเบิด แต่อยู่ดีๆก็ฮึ้บและสามารถยิ้มรับกับสถานการณ์และลงมือทำสิ่งต่างๆต่อได้ภายในไม่กี่วินาที โลกต้องสวยด้วยมือเรา 😇

Angry — Inside out

The Responsibility Process จะช่วยให้เข้าใจว่าการทำงานของสมองภายในไม่กี่วินาทีนั้น เป็นอย่างไร

บทความนี้เกิดขึ้นเนื่องจากมีโอกาสได้รับการแชร์ประสบการณ์การเทรนนิ่งจากพี่โอ โอฬารแห่ง ODDS เรื่อง The Responsibility Process ซึ่งเป็นศาสตร์แห่งการเป็นผู้นำ การเป็นที่ปรึกษา และการเรียนรู้กระบวนการทางสมองและความคิดของคน

“จะเทรนคนอื่น เทรนตัวเองก่อน”

The Responsibility Process

เป็นการศึกษาถึงกระบวนการของสมอง (Mental Model) ของเรา ในการรับมือกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือสถานการณ์ใดก็ตาม ให้สามารถเข้าใจและรับรู้ว่าเรากำลังจัดการกับความคิดของความรู้สึกของเราอย่างไร

เพื่อให้เราพร้อมแก้ไขปัญหา โดยใช้สติกลั่นกรอง ให้ทุกอย่างเป็นไปในทางทีดี ไม่ว่าจะกับเรื่องของตัวเอง หรือกับเรื่องที่คนอื่นต้องการความช่วยเหลือ

Responsibility ประกอบไปด้วยคำสองคำ ได้แก่ Response + Ability

นั่นหมายถึงเรากำลังพูดถึง ความสามารถในการที่จะรับมือ และ สร้างทางเลือกเพื่อลงมือแก้ปัญหา ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่ก่อนที่สมองจะสามารถไปถึงจุดนั้นได้ต้องผ่านขั้นตอนต่างๆประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้

1. Lay blame — Holdings others at fault for causing somthing

เป็นขั้นตอนแรกในสมองที่เกิดขึ้นเป็นปกติของคนส่วนใหญ่ นั่นก็คือ เกิดอะไรขึ้นโทษคนอื่นไว้ก่อน นั่นอาจเพราะมันคือเรื่องปกติที่คนเรามักจะปกป้องความรู้สึกผิดที่จะเกิดกับตัวเอง ทำไปโดยอัตโนมัติกันเลยทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น ภรรยาเดินเอานิ้วก้อยเท้าไปเตะขาเก้าอี้ แล้วเจ็บมาก รู้สึกโกรธแค้นเคืองโกรธที่ต้องมาเจ็บปวดขนาดนี้ หันไปแว้กใส่สามีทันใดว่า “ก็เพราะคุณนั่นแหละ เอาเก้าอี้มาวางขวางทาง!!!!” ทั้งๆที่เก้าอี้ตัวนี้วางอยู่ตรงนี้มานานมากแล้ว 😂

2. Justify — Using excuses for things being the way there are

ขั้นที่สอง ขั้นตอนที่สมองจะเริ่มหาเหตุผลที่ช่วยให้เราใจเย็นลง เข้าอกเข้าใจคนอื่นมากขึ้น อาจสมมติถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์อันยากจะเข้าใจนี้ในแง่ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ขับรถอยู่ดีๆ แล้วโดนคันอื่นมาปาดหน้าจนขวันเสีย แล้วหายเข้ากลีบเมฆไปทันใด (จริงๆเมฆดำๆหน่อย ควันแหละ ..) ในใจเราอาจจะเริ่มช็อคก่อน ตามด้วยคำด่าบุพการี(Lay blame) และแปรเปลี่ยนคิดในใจว่า “เค้าคงปวดท้องมากแหละ ต้องรีบไปห้องน้ำ” ขั้นตอนนี้แหละคือการที่สมองเราเริ่ม Justify หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง ก็คือ พณท่านฯทำไมไม่ลาออกสักที อ่าห์ “อาจเพราะถ้าลาออก ก็อาจจะโดนตัดตอนก็เป็นได้” — เซนเซอร์!

3. Shame — Laying blame onto oneself (often felt as guilt)

ขั้นที่สาม ขั้นตอนที่เราจะเริ่มหันมาตำหนิตัวเองแทนที่จะโทษคนอื่น รู้สึกด้อยค่า ยกตัวอย่างเช่น ในการทำงาน ทีมของเราไม่สามารถส่งงานได้ทันตามกำหนด เราจึงหันมาโทษตัวเองว่าเป็นเพราะเราทำงานได้ช้าไป หรือเป็นเพราะเราไม่ได้ช่วยเหลือคนในทีมได้มากพอ

4. Obligation — Doing what you have to instead of what you want to

ขั้นที่สี่ ขั้นตอนในการฮึดสู้แบบจำใจ การบรรเทาความรู้สึกแย่ให้ตัวเองด้วยการบอกว่าไม่เป็นไร และเผชิญหน้ากับมัน “เอาวะ! แก้ไขไรไม่ได้ละ อดทนต่อไป” — ปลง

5. Responsibility — Owning your ability and power to create, choose, and attract

ขั้นที่ห้า เป็นขั้นตอนที่เราจะเริ่มลงมือ Take action ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะทางด้านความคิดในแง่บวก การสร้างสรรค์บางอย่าง และลงมือทำ เพื่อให้ทุกอย่างดีขึ้น เกิด Growth mindset ที่ทำให้เรารู้สึกเติบโตขึ้น ถ้าพูดถึงในแง่ของการเป็นที่ปรึกษาก็คงจะหนีไม่พ้นอารมณ์ความรู้สึกในตอนที่เรากำลังเครียดเพราะปัญหาของคนอื่น จนมาจบที่แนะนำด้วยความหวังดี และเสนอหนทางที่คิดว่าจะช่วยเขาหรือลงมือทำบางอย่างเพื่อแก้ไขปัญหาให้เขานั่นเอง

The Responsibility Process — Srikate

แต่กว่าเราจะมาถึงขั้นตอนที่ห้า หรือการที่เราสามารถ Take responsibility ได้ เราจะต้องผ่านขั้นตอนสองขั้นที่แทรกอยู่เป็นเหมือนอุปสรรคหรือตัว Evil ในจิตใจของเรา นั่นคือ

  1. Denial — Ignoring the existence of something

ขั้นตอนที่เราเลือกที่จะไม่ได้จัดการอะไรกับปัญหานั้นเลย ในศัพท์ให้เข้าใจง่ายๆก็คือ “เหม็นไปแล้ว” เหม็นยังไงนะ? คือเหม็นจนเบื่อหน่าย ช่างมัน ไม่อยากจะยุ่ง ไม่อยากจะแก้ไขอะไร ให้มันดีขึ้น ปล่อยผ่าน

2. Quit — Giving up to avoid the pain of shame and Obligation

ขั้นตอนของการหนีปัญหา จะไม่โทษใคร ไม่โทษตัวเอง และไม่คิดจะแก้ไขอะไรแล้ว ไม่อยากจะรับรู้หรือเผชิญหน้าอีกต่อไป เชิญตามสบาย

ซึ่งสองขั้นตอนที่ว่านี้จะเกิดขึ้นในระหว่างที่สมองของเรากำลังคิด และเกิดการเปลี่ยนแปลง โดย Danial อาจเกิดขึ้นหลังจาก Justify ซึ่งนั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้เราไม่ได้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง เพิกเฉยต่อสถานการณ์ต่างๆ จนอาจะเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาที่สอง สาม สี่ตามมาได้

ส่วน Quit นั้นมักเกิดขึ้นทั้งหลังจาก Shame และ Obligation หรือการที่หาทางออกกับปัญหาที่เผชิญไม่ได้ นั่นอาจจะเป็นนิยามของคำว่าหมด Passion ที่เรามักจะพูดกัน จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือแก้ไขอะไรอีก เพราะคิดว่ายังไงก็คงไม่ดีขึ้น “เลิกคบ” “ลาออก” “ไล่ออก” “บายยย”

แล้วสิ่งที่จะช่วยให้เราสามารถจัดการกับกระบวนการนี้ได้ดีขึ้นคืออะไรล่ะ

The Keys to Responsibility — Srikate

Intention , Awareness , Confront

  1. Intention — Intending to respond from Responsibility when things go wrong. ความตั้งใจ เราจะต้องมีพลังที่จะมีความตั้งใจดี เพื่อให้เรารู้ว่ามีทางเลือกเสมอ ยกตัวอย่างเช่น เราให้คำปรึกษาคนๆหนึ่งแล้วเค้าตอบกลับมาว่ามันไม่ช่วยอะไรเลย สิ่งที่เราต้องทำคือ Keep intention นี้ต่อไป ในตอนที่เราติดอยู่กับขั้นตอน Obligation เรามักจะรู้สึกว่าไม่มีทางเลือกเลย ต้องตั้งสติ มี Intention ให้ดีและจะพบว่ามีทางเลือกให้แก้ไขปัญหาเสมอ เราจึงจะเติบโต
  2. Awareness — Catching yourself in the mental state of Denial, Lay blame, Justify, Shame, Obligation, and Quit. รู้เท่าทันอารมณ์ความคิดของตัวเองอยู่เสมอ
  3. Confront — Facing yourself to see what is true that you can learn, correct, or improve. เรียนรู้ที่จะฝึกความตั้งใจดี ด้วยการฝึกความตั้งใจดีต่อตัวเองก่อน

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ โดยส่วนตัวคิดว่า เป็นกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นเป็นประจำของทุกคนอยู่แล้ว เพียงแต่ถูกนำมาเขียนและย่อยออกมาเป็นทฤษฎีให้เข้าใจชัดเจนในขั้นตอนการทำงานของสมองมากขึ้น

แต่สิ่งสำคัญที่ได้จากการเรียนรู้สิ่งที่เรียกว่า The Responsibility Process เลยนั่นก็คือ การมีสติกับสิ่งที่เรากำลังเผชิญ และความเข้าอกเข้าใจทั้งตัวเอง และผู้อื่น เพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคม ไม่ว่าจะเป็นสังคมเพื่อนฝูง สังคมที่เรียน ที่ทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง ความสัมพันธ์ของสามีภรรยา

Key of success ของเรื่องนี้กล่าวโดยสรุปก็คือคำสั้นๆที่เรียกว่า “ความหวังดี ที่เกิดจากการเอาใจเขามาใส่ใจเรา”

หากเราอยู่ร่วมกันโดยมีความหวังดี เป็นตัวขับเคลื่อน ไม่ว่าจะปัญหาของตัวเองหรือปัญหาของใครๆ เราจะมีทางเลือกให้ลงมือแก้ไขปัญหาอยู่เสมอ

--

--